วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553
+ เหตุผลหลายๆประการ..ของผู้หญิงหลายใจ +
เหตุผลหลายๆประการ..ของผู้หญิงหลายใจ
คำว่า ผู้หญิงหลายใจ คงไม่รื่นหูนักเมื่อได้ยินจากปากหลายๆ คน เอ่ยถึงผู้หญิงที่คบผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่พวกเขาจะรู้ไหมนะว่า ผู้หญิงหลายใจเหล่านั้นก็มีเหตุผลต่างๆ ที่น้อยคนนักจะรับรู้ได้ อาทิ
1. ไม่มีเวลาให้กับความผูกพันที่ลึกซึ้งส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่ชื่นชอบกับการคบใครหลายๆ คน มักจะมีภาระหนักๆ ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป้นเรื่องงานที่ท่วมหัว หรือใช้เวลาอยู่กับเพื่อนฝูงและครอบครัวมากกว่าที่จะทุ่มเทชีวิตให้แก่ผู้ชายคนใดคนหนึ่ง ผู้หญิงเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์แค่ผิวเผินกับผู้ชาย เพื่อที่จะหาโอกาสง่ายๆ ที่จะผละพวกเขาทิ้งเสียเมื่อไม่ต้องการ แค่เพียงหนึ่งคืนก็เพียงพอแล้วกับการออกเดทกับผู้ชายคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอาหารมื้อเย็นที่ร้านหรูๆ สักแห่ง ฟังเพลงเพราะๆ แล้วก็จบด้วยการมีเซ็กซ์กับเขาเพียงแค่ข้ามคืน เหตุที่ผู้หญิงเหล่านี้ชอบทำแบบนี้ก็เพื่อไม่ต้องการรับรู้นิสัยที่ไม่เอาไหนของผู้ชายที่จะเกิดขึ้น หลังจากมีสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับพวกเขาแล้ว
2. กลัวการผูกมัดผู้หญิงหลายคนที่กลัวการผูกมัด เมื่อต้องคบกับผู้ชายคนใดคนหนึ่ง เพราะการที่จะคบใครจริงจังต้องมีความเสียสละสูง และการที่ต้องเสียสละนี้เองที่ทำให้ผู้หญิงหลายคน ทำไม่ได้ และอีกประการหนึ่งคือ ความเจ็บปวดที่เคยเกิดขึ้นจากการเสียสละของผู้หญิงเหล่านั้น และได้รับผลตอบแทนอันเจ็บปวดจากผู้ชายคนเก่าของพวกเธอ ทำให้พวกเธอกลัวที่จะเสียความรู้สึกรักนี้ให้ใครอีกครั้งหนึ่ง
3. เป็นกิจกรรมที่คิดว่าน่าสนุกเซ็กซ์ย่อมคู่กับความสนุก สุข สมหวัง จนมีผู้หญิงหลายคนที่คิดเพียงว่า มีเซ็กซ์เพราะชื่นชอบลีลา ท่าทางของการมีเซ็กซ์เท่านั้น แต่ไม่ได้ชื่อชอบผู้ชายที่พวกเธอกำลังจะมีเซ็กซ์ด้วยอยู่เลยแม้แต่น้อย
4. เพื่อการแก้แค้นแน่นอนว่าเมื่อผู้หญิงได้รับความเจ็บปวดจากการทอดทิ้งของผู้ชาย ผู้หญิงบางคนก็จะเศร้าสลด และเก็บตัวเงียบไม่ยอมสุงสิงกับใคร แต่กับอีกบางคนที่ลุกขึ้นมาเพื่อฮึดสู้เพื่อแก้แค้นผู้ชายทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้เจ็บปวดเหมือนเธอ ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการคบผู้ชายไม่เลือกหน้า เพื่อสลัดรักเขา แต่ยิ่งพวกเธอทำให้ผู้ชายเจ็บผวดเท่าไหร่ ความเจ็บปวดนั้นกลับยิ่งทวีคูณให้แก่พวกเธอมากเท่านั้น แทนที่จะเป็นผลเสียให้แก่ผู้ชาย กลับกลายเป็นว่าผู้ชายทั้งหลายกับโปรดปรานการประชดประชันแบบนี้ของผู้หญิง
5. เพื่อลืมอดีตที่แสนหวานเป็นเรื่องจริง เมื่อผู้หญิงมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับชายใดแล้ว แต่ภายหลังกลับถูกทิ้งอย่างไม่มีเยื่อใย พวกเธอจึงกลัวที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ก็ไม่กล้าที่จะไปมีความผูกพันแบบลึกซึ้งกับผู้ชายคนไหนอีก จึงเป็นเหตุให้ผู้หญิงเหล่านี้กล้าที่จะลองคบกับผู้ชายหลายๆ คน เพื่อแก้เหงา และลืมคนเก่าไปได้
6. สุดท้ายที่ผู้หญิงเหล่านั้น พูดปฎิเสธไม่เป้นหากผู้ชายมีถ้อยคำหวานๆ แสดงความสุภาพกับผู้หญิง ยากนักที่ผู้หญิงจะกล้าปฎิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนสนิท เพื่อน หรือแม้แต่เจ้านาย เมื่อพวกเธอหลวมตัวออกเดทกับหนุ่มประเภทนี้แล้ว น้อยนักที่จะปฎิเสธการมีเซ็กซ์กับพวกเขาได้และอีกหลายๆ เหตุผล ที่ผู้หญิงหลายคนเลือกที่จะคบกับผู้ชายหลายคนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้คิดจะยึดติดกับใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน จนเป็นเหตุให้เธอลืมนึกถึงความรู้สึกที่แท้จริงของผู้หญิงว่า ต้องการทะนุถนอมจากผู้ชายที่เธอรักมากที่สุดแค่คนเดียวเป็นเช่นไร .....
คำว่า ผู้หญิงหลายใจ คงไม่รื่นหูนักเมื่อได้ยินจากปากหลายๆ คน เอ่ยถึงผู้หญิงที่คบผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่พวกเขาจะรู้ไหมนะว่า ผู้หญิงหลายใจเหล่านั้นก็มีเหตุผลต่างๆ ที่น้อยคนนักจะรับรู้ได้ อาทิ
1. ไม่มีเวลาให้กับความผูกพันที่ลึกซึ้งส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่ชื่นชอบกับการคบใครหลายๆ คน มักจะมีภาระหนักๆ ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป้นเรื่องงานที่ท่วมหัว หรือใช้เวลาอยู่กับเพื่อนฝูงและครอบครัวมากกว่าที่จะทุ่มเทชีวิตให้แก่ผู้ชายคนใดคนหนึ่ง ผู้หญิงเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์แค่ผิวเผินกับผู้ชาย เพื่อที่จะหาโอกาสง่ายๆ ที่จะผละพวกเขาทิ้งเสียเมื่อไม่ต้องการ แค่เพียงหนึ่งคืนก็เพียงพอแล้วกับการออกเดทกับผู้ชายคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอาหารมื้อเย็นที่ร้านหรูๆ สักแห่ง ฟังเพลงเพราะๆ แล้วก็จบด้วยการมีเซ็กซ์กับเขาเพียงแค่ข้ามคืน เหตุที่ผู้หญิงเหล่านี้ชอบทำแบบนี้ก็เพื่อไม่ต้องการรับรู้นิสัยที่ไม่เอาไหนของผู้ชายที่จะเกิดขึ้น หลังจากมีสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับพวกเขาแล้ว
2. กลัวการผูกมัดผู้หญิงหลายคนที่กลัวการผูกมัด เมื่อต้องคบกับผู้ชายคนใดคนหนึ่ง เพราะการที่จะคบใครจริงจังต้องมีความเสียสละสูง และการที่ต้องเสียสละนี้เองที่ทำให้ผู้หญิงหลายคน ทำไม่ได้ และอีกประการหนึ่งคือ ความเจ็บปวดที่เคยเกิดขึ้นจากการเสียสละของผู้หญิงเหล่านั้น และได้รับผลตอบแทนอันเจ็บปวดจากผู้ชายคนเก่าของพวกเธอ ทำให้พวกเธอกลัวที่จะเสียความรู้สึกรักนี้ให้ใครอีกครั้งหนึ่ง
3. เป็นกิจกรรมที่คิดว่าน่าสนุกเซ็กซ์ย่อมคู่กับความสนุก สุข สมหวัง จนมีผู้หญิงหลายคนที่คิดเพียงว่า มีเซ็กซ์เพราะชื่นชอบลีลา ท่าทางของการมีเซ็กซ์เท่านั้น แต่ไม่ได้ชื่อชอบผู้ชายที่พวกเธอกำลังจะมีเซ็กซ์ด้วยอยู่เลยแม้แต่น้อย
4. เพื่อการแก้แค้นแน่นอนว่าเมื่อผู้หญิงได้รับความเจ็บปวดจากการทอดทิ้งของผู้ชาย ผู้หญิงบางคนก็จะเศร้าสลด และเก็บตัวเงียบไม่ยอมสุงสิงกับใคร แต่กับอีกบางคนที่ลุกขึ้นมาเพื่อฮึดสู้เพื่อแก้แค้นผู้ชายทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้เจ็บปวดเหมือนเธอ ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการคบผู้ชายไม่เลือกหน้า เพื่อสลัดรักเขา แต่ยิ่งพวกเธอทำให้ผู้ชายเจ็บผวดเท่าไหร่ ความเจ็บปวดนั้นกลับยิ่งทวีคูณให้แก่พวกเธอมากเท่านั้น แทนที่จะเป็นผลเสียให้แก่ผู้ชาย กลับกลายเป็นว่าผู้ชายทั้งหลายกับโปรดปรานการประชดประชันแบบนี้ของผู้หญิง
5. เพื่อลืมอดีตที่แสนหวานเป็นเรื่องจริง เมื่อผู้หญิงมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับชายใดแล้ว แต่ภายหลังกลับถูกทิ้งอย่างไม่มีเยื่อใย พวกเธอจึงกลัวที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ก็ไม่กล้าที่จะไปมีความผูกพันแบบลึกซึ้งกับผู้ชายคนไหนอีก จึงเป็นเหตุให้ผู้หญิงเหล่านี้กล้าที่จะลองคบกับผู้ชายหลายๆ คน เพื่อแก้เหงา และลืมคนเก่าไปได้
6. สุดท้ายที่ผู้หญิงเหล่านั้น พูดปฎิเสธไม่เป้นหากผู้ชายมีถ้อยคำหวานๆ แสดงความสุภาพกับผู้หญิง ยากนักที่ผู้หญิงจะกล้าปฎิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนสนิท เพื่อน หรือแม้แต่เจ้านาย เมื่อพวกเธอหลวมตัวออกเดทกับหนุ่มประเภทนี้แล้ว น้อยนักที่จะปฎิเสธการมีเซ็กซ์กับพวกเขาได้และอีกหลายๆ เหตุผล ที่ผู้หญิงหลายคนเลือกที่จะคบกับผู้ชายหลายคนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้คิดจะยึดติดกับใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน จนเป็นเหตุให้เธอลืมนึกถึงความรู้สึกที่แท้จริงของผู้หญิงว่า ต้องการทะนุถนอมจากผู้ชายที่เธอรักมากที่สุดแค่คนเดียวเป็นเช่นไร .....
วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรีในปีต่างๆ ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อๆมา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้ พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง
พ.ศ.2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง
พ.ศ.2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
++ สงคราม ทักษิณ-สนธิ ++
10 "อย่า" สำหรับติดตามข่าวสงคราม ทักษิณ-สนธิ
ประชาไท—30 พ.ย. 2548 ‘กาแฟดำ’ ซึ่งเป็นนามปากกาของ สุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่นเสนอ “เสมือนคู่มือ” การติดตามข่าวความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท. ทักษิณฯ ชินวัตร นายรัฐมนตรี กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในคอลัมน์กาแฟดำ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 2548 โดยมีข้อเสนอพึงระวัง 10 ข้อคือ
1.อย่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอ้างว่าคุณเป็นของฝ่ายเขา ก่อนที่คุณจะพิจารณาใคร่ครวญให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า น้ำหนักของแต่ละฝ่ายนั้นมีมากน้อยเพียงใด
2.อย่าเชื่อเพียงเพราะเขาอ้างว่า "ถูกต้องตามขั้นตอน" ตามกฎหมาย อย่าเชื่อเพียงเพราะด้านหนึ่งออกข่าวในช่องทีวีในเวลาไพร์มไทม์ และอย่าเชื่อเพียงเพราะคนอื่นบอกว่าน่าเชื่อ
3. อย่าเชื่อเพียงเพราะความดุดันของภาษา และอย่าเชื่อเพียงเพราะเขาเป็น "โฆษก" ของใคร จะเป็นโฆษกด้านการเมืองหรือกระบอกเสียงด้านศาสนาก็ตาม
4.อย่าฟังเฉพาะเรื่องปัจจุบัน อย่าเชื่ออดีตที่ข้างเดียวนำมาอ้างและอย่าคิดว่า อนาคตจะเท่ากับเอาปัจจุบันบวกกับอดีตเท่านั้น เพราะเดิมพันของเขากับเดิมพันของประเทศอาจจะไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
5.อย่าถามว่าใคร "จริงใจกับประชาชน" มากกว่าใคร เพราะนี่ไม่ใช่การประกวดรางวัลคนดีศรีสังคม นี่เป็นการเผชิญหน้าที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ "ชัยชนะ" เบ็ดเสร็จ ซึ่งแปลว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะต้อง "แพ้" แต่ผลประโยชน์ประชาชนอาจจะไม่ได้อยู่ที่กติกาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นมาเสมือนหนึ่งเราต้องยอมรับ
6.อย่าหวั่นไหวกับข่าวลือว่า ใครจะทำอะไรมิดีมิร้ายด้วยกำลังหรืออำนาจเถื่อน นี่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์แห่งการสัประยุทธ์ เพื่อดึงความสนใจของฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้น เพราะใครที่คิดจะใช้กติกานอกระบบ ก็ต้องเตรียมที่จะล่มสลายด้วยกติกานอกระบบเช่นกัน
7. ถามว่าจะเชื่อฝ่ายไหนดี? ตอบว่า อย่ากระโจนเข้าใส่ทั้งตัว, อย่าโหนกระแสข้างใดข้างหนึ่ง...จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ให้ว่า เป็นเรื่องๆ ไป ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยย่อมจะสงวนสิทธิที่จะไม่จำเป็นต้องเป็น "ตัวประกัน" ในกรณีของการที่ทั้งสองฝ่ายถล่มใส่กันอย่างไม่ลืมหูลืมตา
8.เรื่องนี้เกี่ยวกับผลประโยชน์ขัดแย้งส่วนตัวหรือสงครามตัวแทนหรือการต่อสู้ว่าด้วยเสรีภาพของสื่อ? ตอบว่า มีสีดำผสมขาวกลายบวกกับสีเทา เวลาและเนื้อหาของข้อสรุปเท่านั้นที่จะตัดสิน อีกไม่ช้าก็จะได้คำตอบ
9.ถ้าไม่อยากผิดหวัง อย่าคิดว่า นี่คือการปะทะระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม ให้ทำใจเสียว่าสถานการณ์อาจจะพลิกผันไปในทิศทางที่ประชาชนอาจจะคาดไม่ถึง และเตรียมตัวเตรียมใจว่าเรื่องนี้อาจจะจบลงด้วยที่คุณต้องอุทานว่า "เฮ้ย, ทำไมจบอย่างนี้ได้หว่า?"
10.อย่าหวั่นไหว, อย่ากลัวอำนาจ, อย่าตกตื่น, อย่าตามแห่...อย่าให้ใครบอกว่า เราเป็นแค่พวกชอบมันส์, เอาแต่เพียงสะใจ, หรือทาสประชานิยมที่ปล่อยไม่ไป เพราะเราถูกปรามาสและเหยียบย่ำมาเกินพอแล้ว
ประชาไท—30 พ.ย. 2548 ‘กาแฟดำ’ ซึ่งเป็นนามปากกาของ สุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่นเสนอ “เสมือนคู่มือ” การติดตามข่าวความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท. ทักษิณฯ ชินวัตร นายรัฐมนตรี กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในคอลัมน์กาแฟดำ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 2548 โดยมีข้อเสนอพึงระวัง 10 ข้อคือ
1.อย่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอ้างว่าคุณเป็นของฝ่ายเขา ก่อนที่คุณจะพิจารณาใคร่ครวญให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า น้ำหนักของแต่ละฝ่ายนั้นมีมากน้อยเพียงใด
2.อย่าเชื่อเพียงเพราะเขาอ้างว่า "ถูกต้องตามขั้นตอน" ตามกฎหมาย อย่าเชื่อเพียงเพราะด้านหนึ่งออกข่าวในช่องทีวีในเวลาไพร์มไทม์ และอย่าเชื่อเพียงเพราะคนอื่นบอกว่าน่าเชื่อ
3. อย่าเชื่อเพียงเพราะความดุดันของภาษา และอย่าเชื่อเพียงเพราะเขาเป็น "โฆษก" ของใคร จะเป็นโฆษกด้านการเมืองหรือกระบอกเสียงด้านศาสนาก็ตาม
4.อย่าฟังเฉพาะเรื่องปัจจุบัน อย่าเชื่ออดีตที่ข้างเดียวนำมาอ้างและอย่าคิดว่า อนาคตจะเท่ากับเอาปัจจุบันบวกกับอดีตเท่านั้น เพราะเดิมพันของเขากับเดิมพันของประเทศอาจจะไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
5.อย่าถามว่าใคร "จริงใจกับประชาชน" มากกว่าใคร เพราะนี่ไม่ใช่การประกวดรางวัลคนดีศรีสังคม นี่เป็นการเผชิญหน้าที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ "ชัยชนะ" เบ็ดเสร็จ ซึ่งแปลว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะต้อง "แพ้" แต่ผลประโยชน์ประชาชนอาจจะไม่ได้อยู่ที่กติกาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นมาเสมือนหนึ่งเราต้องยอมรับ
6.อย่าหวั่นไหวกับข่าวลือว่า ใครจะทำอะไรมิดีมิร้ายด้วยกำลังหรืออำนาจเถื่อน นี่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์แห่งการสัประยุทธ์ เพื่อดึงความสนใจของฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้น เพราะใครที่คิดจะใช้กติกานอกระบบ ก็ต้องเตรียมที่จะล่มสลายด้วยกติกานอกระบบเช่นกัน
7. ถามว่าจะเชื่อฝ่ายไหนดี? ตอบว่า อย่ากระโจนเข้าใส่ทั้งตัว, อย่าโหนกระแสข้างใดข้างหนึ่ง...จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ให้ว่า เป็นเรื่องๆ ไป ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยย่อมจะสงวนสิทธิที่จะไม่จำเป็นต้องเป็น "ตัวประกัน" ในกรณีของการที่ทั้งสองฝ่ายถล่มใส่กันอย่างไม่ลืมหูลืมตา
8.เรื่องนี้เกี่ยวกับผลประโยชน์ขัดแย้งส่วนตัวหรือสงครามตัวแทนหรือการต่อสู้ว่าด้วยเสรีภาพของสื่อ? ตอบว่า มีสีดำผสมขาวกลายบวกกับสีเทา เวลาและเนื้อหาของข้อสรุปเท่านั้นที่จะตัดสิน อีกไม่ช้าก็จะได้คำตอบ
9.ถ้าไม่อยากผิดหวัง อย่าคิดว่า นี่คือการปะทะระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม ให้ทำใจเสียว่าสถานการณ์อาจจะพลิกผันไปในทิศทางที่ประชาชนอาจจะคาดไม่ถึง และเตรียมตัวเตรียมใจว่าเรื่องนี้อาจจะจบลงด้วยที่คุณต้องอุทานว่า "เฮ้ย, ทำไมจบอย่างนี้ได้หว่า?"
10.อย่าหวั่นไหว, อย่ากลัวอำนาจ, อย่าตกตื่น, อย่าตามแห่...อย่าให้ใครบอกว่า เราเป็นแค่พวกชอบมันส์, เอาแต่เพียงสะใจ, หรือทาสประชานิยมที่ปล่อยไม่ไป เพราะเราถูกปรามาสและเหยียบย่ำมาเกินพอแล้ว
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
“ ทำอย่างไร...ถึงจะไม่หลับคาโต๊ะกวดวิชา ”
9 วิธี “ทำอย่างไร...ถึงจะไม่หลับคาโต๊ะกวดวิชา”
1. ถ้ารู้ว่าตัวเองต้องเข้าเรียนแต่เช้า : ก็อย่าดูหนังดูละครจนดึกเกินสี่หรือห้าทุ่ม เพราะเวลานอนที่ขาดไปมันมักจะมาเอาคืนช่วงเรียนพิเศษที่มีอาจารย์ในดีวีดีมากล่อมเสมอ ข้อนี้สำคัญมาก เพราะหากนอนดึกแล้ว ก็ไม่มีวิธีไหนที่จะมาทำให้เราหายง่วงได้ นอกจากไปกินกระทิงแดง (แต่ก็ไม่แนะนำว่าไม่ดีต่อสุขภาพ)
2. พกขนมหรือน้ำเข้าไปด้วย : แต่ !!! ห้ามกินตั้งแต่เริ่มเรียน เพราะจะทำให้ง่วงง่ายมากกกกก ให้กินเมื่อเริ่มง่วงเท่านั้น (บางทีลองซื้อขนมที่เวลาแกะแล้วเสียงดังๆ เพราะเวลาแกะขนมนั้นจะทำให้เราตื่นเต้นและกลัวว่าคนข้างๆ จะด่า (มันมีวิธีอย่างนี้ด้วยเรอะ) ทำให้ตาสว่าง แต่ถึงอย่างไร ถ้าคิดว่าจะรบกวนคนข้างๆ ละก็ ก็ให้ซื้อขนมจุกจิกเล็กๆน้อยๆไปแทน) เมื่อหายง่วงก็ให้หยุดกินแล้วตั้งใจเรียนต่อไปซะ
3. อุปกรณ์สำหรับเรียนกวดวิชา : สำคัญนะคะ เพราะเวลาเราง่วงๆ ก็หยิบปากกาสี หรือพวกไฮไลท์มาวาดๆ เขียนในหนังสือให้มันคัลเลอร์ฟูลไปเลย แต่อย่าทำให้เลอะเทอะไป เพราะเวลาทบทวนหนังสืออาจจะทำให้เรามึนได้ ให้วาดๆ เขียนๆ ด้านหลังหนังสือก็ได้ หรือไม่ก็เวลาอาจารย์ให้เน้นอะไรก็ใส่สีให้พอสวยงามก็ทำให้เราหายง่วงได้เช่นกันค่ะ แต่ถึงยังไงก็ต้องตั้งใจฟังอาจารย์อย่ามัวแต่วาดเพลินนะคะ
4. ฝึกจินตนาการผ่านกวดวิชา : ลองมองดูอาจารย์สอนกวดวิชาสิคะ ท่านจะมีอะไรให้เราได้จินตนาการไปเรื่อยเปื่อยอยู่เสมอ ตั้งแต่คำพูดติดปากของอาจารย์ สีเสื้อผ้า ทรงผม เสียงหัวเราะของอาจารย์ บางที...มุขฝืดๆของอาจารย์ก็ช่วยพวกเราจากความง่วงงันได้เหมือนกันนะ
5. สำหรับคนที่ชอบหลับคาโต๊ะกวดวิชา : เราขอแนะนำ!! ให้ลองก้มลงไปนอนโต๊ะคนอื่นดูค่ะ (หา!!) แล้วจะไม่ง่วงอีกเลย (แต่จะได้เบ้าตาหมีแพนด้ามาแทน ...อ้าว)
6. ตั้งใจฟังอาจารย์ : เรียนให้เต็มที่ คำนวณอะไรก็คิดๆๆๆๆๆ คิดผิดก็คิดมันไป อาจารย์เฉลยว่าผิดแล้วก็ลบแอบๆ หน่อย (อายคนข้างๆ) พอเวลาคำนวณถูกก็เปิดมันเลย! ดูเส่ะๆพวกหล่อน ฉันคิดถูก ว่ะฮ่าๆๆๆ
7. สำหรับคนที่กินขนมแล้วชอบหลับ : แนะนำค่ะ ลูกอมรสเปรี้ยวๆ กินแล้วตื่นเต็มตาเลยค่ะ (แต่ถ้ากินบ่อยๆอาจทำให้คุณชินและหลับได้แม้กระทั้งในปากเปรี้ยวจี้ด) หรือไม่ก็ลูกอมมิ้นท์เย็นๆ แบบว่าเย็นสุดขั้ว กินแล้วเย็นไปถึงรูขุมขนได้ยิ่งดี นั่นจะทำให้คุณตื่น (แต่บางคนอาจจะหลับ) เรื่องลูกอมต้องค่อยๆลองไปสลับไปได้เรื่อยๆ ยิ่งดี วันนึงก็รสนึง อีกวันก็รสใหม่ จะทำให้เราไม่คุ้นและไม่ง่วง
8. หากเรียนไปแล้วเริ่มจะเข้าเฝ้าเทวดา : ให้นึกถึงเวลาที่ใกล้จะหมดสิคะ นั่นอาจจะทำให้รู้สึกลัลล้าและตื่นเต็มตาได้ แต่ถ้าหากเพิ่งจะเริ่มเรียนแล้วง่วงละก็ ลองไปล้างหน้าล้างตาดูนะคะ
9. บรรยากาศในห้องเรียน : เป็นส่วนหนึ่งทำให้เคลิ้มได้ บางทีก็เย็นจนปอดจะแข็งตาย บางทีก็ร้อนตับจะออกมานอกร่าง ขอแนะนำว่าให้ลองใจกล้าเดินไปบอกพี่ที่คุมเลยค่ะ ว่าร้อนหรือหนาว จะได้ไม่รู้สึกเคลิ้มหรือไม่เครียดขณะเรียน
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)