วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

* แอลกอฮอล์! ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ??




มีวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส หรือ เฟรนพาราดอกซ์ (French aradox) งานวิจัยนี้ ศึกษาคนที่ดื่มไวน์เป็นประจำ แต่มีปัญหาโรคหัวใจน้อย ทั้งๆ ที่กินอาหารไขมันสูง ความดี จึงถูกยกให้กับสารแอนติออกซิแดนท์ในไวน์แดง แต่นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่ป้องกัน โรคหัวใจที่แท้จริงคือแอลกอฮอล์ในไวน์ ซึ่งน่าจะหมายความว่าไม่ว่าเบียร์ ไวน์ หรือวิสกี้ อาจให้ประโยชน์ต่อหัวใจพอๆ กันถ้าดื่มพอควร


แอกอฮอล์กับหัวใจ

ข้อดี : แอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลที่ดี ลดการแข็งตัว ของเกร็ดเลือด ลดการดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจาก เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและในผู้ที่มีประวัติหัวใจวายมาก่อน ปัจจุบันนักวิจัยชาวยุโรป เชื่อว่าแอลกอฮอล์เกี่ยวข้องกับระดับสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น สารซีอาร์พี หากทำให้ สารนี้ลดลงจะป้องกันโรคหัวใจได้


ข้อเสีย : การดื่มแอลกอฮอลล์วันละ 3 ดริ๊งค์ขึ้นไปอาจทำให้อ้วน เพิ่มความเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก หัวใจ ล้มเหลว ดร.ร็อค แจ็คสัน นักระบาดวิทยาไม่เชื่อในข้อดีของแอลกอฮอลล์เพราะข้อมูลการ วิจัยส่วนใหญ่ไม่สามารถพิสูจน์ผลได้ว่าแอลกอฮอลล์ให้ผลดีต่อหัวใจจริง


แอลกอฮอล์และสมอง

ข้อดี : การดื่มพอควรช่วยป้องกันความเสี่ยงอัลไซเมอร์และความจำเสื่อม เมื่อนักวิจัย แห่งศูนย์การแพทย์เบธอิสราเอดีคอเนสในรัฐบอสตัน เปรียบเทียบผู้ที่ไม่ดื่มเลยกับผู้ที่ดื่ม สัปดาห์ละ1-6 ดริ๊งค์ โดยใช้อาสาสมัคร6,000 คน พบว่าผู้ที่ดื่มมีความเสี่ยงโรคความจำ เสื่อมน้อยกว่า งานวิจัยจากฮาร์วาร์ดยังแสดงว่าผู้หญิงที่ดื่มวันละดริ๊งค์มีความเสี่ยงจากส โตร๊คชนิดหลอดเลือดแดงอุดตันเพียงครึ่งเดียว


ข้อเสีย : การดื่มมากเร่งให้สมองเสื่อมเร็ว ร่างกายขาดวิตามิน บี1 ถ้ารุนแรงอาจทำให้ ความจำ การเรียนรู้ลดลง เพิ่มความเสี่ยงสโตร๊ค


แอลกอฮอล์และเบาหวาน

ข้อดี : การดื่มในระดับน้อยถึงปานกลาง ช่วยลดความเสี่ยงเบาหวานลงได้ 36 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังลดความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานด้วย


ข้อเสีย : ทำให้อ้วนเพราะแอลกอฮลล์ให้แคลอรีสูง ซึ่งอาจนำมาสู่โรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ ผู้ดื่มหนักอาจเสี่ยงโรคเมตาบอลิกซินโดรม (อ้วนลงพุงร่วมกับร่างกายดื้อต่อ อินซูลิน ความดันโลหิตสูง คอเลสเทอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง รวมทั้งอันตรายต่อตับ) โดยเฉพาะในผู้ที่เริ่มดื่มเมื่ออายุยังน้อย


แอลกอฮล์และโรคมะเร็ง

ข้อดี : ไวน์แดงและเบียร์ดำมีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์สูง (เช่นเดียวกับผลไม้ ผัก และชา) ช่วยป้องกันมะเร็งได้ ฮอพซึ่งใช้ผลิตเบียร์มีสารแอนติออก ซิแดนท์ที่ชื่อว่าแซนโทฮูมอล (xanthohumol) ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งและ เพิ่มฤทธิ์เอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านมะเร็ง


ข้อเสีย : การดื่มมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งในช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ตับ เต้านม และลำไส้ใหญ่ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาเน้นว่าการดื่มเพียงวันละดริ๊งค์ก็ อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้แล้ว


แอลกอฮอล์และกระดูก

ข้อดี : นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟพบว่าเบียร์มีสารซิลิคอนสูง ซึ่งช่วยสะสมแคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆในกระดูก ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกสะโพก ป้องกันกระดูกแตกหัก


ข้อเสีย : ซิลิคอนพบมากในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะธัญพืชไม่ขัดสีและผักประเภทราก จึงไม่จำเป็นต้องดื่มจากเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์รบกวนการสร้างกระดูกและการทำงานของ แคลเซียม วิตามินดี และฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุนและทำให้กระดูก แตกหักจากการหกล้มได้ง่าย


ความอ้วนกับแอลกอฮอล์

แคลอรีจากแอลกอฮอล์มักสะสมที่พุงมากกว่าแคลอรีจากอาหารชนิดอื่นๆ แต่การดื่ม น้อยกลับเป็นผลดีในการลดพุงได้ แต่ต้องเป็นวันละ 1 ดริ๊งค์เท่านั้น งานวิจัยจากคลินิกเม โยในผู้ใหญ่ 8,200 คนพบว่า ผู้ที่ดื่มวันละดริ๊งลดความเสี่ยงพุงพลุ้ยลงถึง 54 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่การดื่มมากกว่า 4 ดริ๊งค์ขึ้นไปเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน 46 เปอร์เซ็นต์ เพราะแคลอรีที่ได้จากอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ยกเว้นว่า เพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น ไวน์แก้วขนาด 150 มล. หรือเบียร์ประมาณ 360 มล.(1 กระป๋อง) ให้พลังงานเฉลี่ย 100-150 แคลอรี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผสมเครื่องดื่มอย่าง อื่นอาจมีพลังงานสูงถึงหลายร้อยแคลอรี ยิ่งกว่านั้นเมื่อเวลาที่ดื่มสังสรรค์มักจะมีอาหารที่มี แคลอรีสูงกินร่วมด้วย จึงทำให้อ้วนได้ง่าย


การดื่มแอกอฮอล์พอประมาณให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้ แต่ไม่จำเป็นที่ต้องแนะนำให้ ดื่มเพื่อสุขภาพ ผู้ที่ควรงดได้แก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร หรือผู้ขับขี่ยานพาหนะ ผู้ที่ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ผู้มีปัญหาไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ตับอ่อนอักเสบ หัวใจล้มเหลว หรือผู้รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ถึงความปลอดภัยในการดื่มด้วย เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลรบกวนต่อการทำงานของ

+ บุหรี่ฆ่าคนปีหน้า 6 ล้าน คอยาเสี่ยงมะเร็งปอดสูงกว่า 23 เท่า +


รายงานมูลนิธิโรค ได้ระบุว่า บุหรี่ทำให้เศรษฐกิจโลกแย่ปีละ 17,000 ล้านบาท คิดเป็น 3.6%ของจีดีพี ขณะที่ทำคนตายปีนี้ 5.5 ล้านนคน...
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งโลกพากันแสดงความวิตกออกมาในรายงานฉบับใหม่ว่า บุหรี่จะคร่าชีวิตประชากรโลกด้วยโรคตั้งแต่มะเร็งไปจนถึงถุงลมปอดโป่งพอง และอื่นๆ ภายในปีหน้าอีกไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคนรายงานรวบรวมโทษของบุหรี่ ของมูลนิธิโรคปอดโลกกล่าวแจ้งว่า บุหรี่ทำให้เศรษฐกิจโลกต้องสิ้นเปลืองไปกับรายจ่ายทางการแพทย์ ปริมาณการผลิตที่น้อยลง และภยันตรายในสิ่งแวดล้อม เป็นจำนวนปีหนึ่งๆ ถึง 17,000 พันล้านบาท มันผลาญความมั่งคั่งสมบูรณ์ของชาติคิดเป็นค่าทางเศรษฐกิจในแง่ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมลง สูงถึงร้อยละ 3.6บุหรี่และยาสูบเป็นสาเหตุการตายทุก 1 ใน 10 ราย ของทั่วโลก เฉพาะปีนี้ปีเดียวก็มากถึง 5,500,000 ราย ผู้ที่เป็นนักสูบจะเสี่ยงกับการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 23 เท่า ปัจจุบันมีคอยามากถึง 1 พันล้านราย เป็นผู้ชายในชาติร่ำรวยเสีย ร้อยละ 35 และเป็นคนอยู่ในชาติที่กำลังพัฒนาเสียร้อยละ 50




วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

* เตือน"เด็ก"นั่งดูทีวี-เล่นเกมมากเกินไป เพิ่มเสี่ยงป่วยความดันสูง *

แพทย์อเมริกัน เสนอผลวิจัยเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองอย่าปล่อยให้ลูกๆ นั่งดูทีวี หรือนั่งเล่นเกมหน้าจอทีวีนานเกินไป เพราะเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนวัยอันควร



น.พ.โจอี้ ซี ไอเซนแมน และคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน เก็บข้อมูลเด็ก 111 คน อายุ 3-8 ขวบ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เด็กแต่ละคนจะสวมอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้วิจัยล่วงรู้ถึงการประกอบกิจกรรมของร่างกาย และจะให้ผู้ปกครองรายงานว่าเด็กๆ เหล่านี้ใช้เวลามากน้อยเพียงใดไปกับการชมโทรทัศน์ เล่นวิดีโอเกม วาดเขียน นั่งหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ต้องลงแรงนัก


ผลลัพธ์ปรากฏว่า โดยเฉลี่ยแล้วเด็กจะนั่งอยู่นิ่งๆ วันละ 5 ชั่วโมง และจะใช้เวลาดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันละ 1.5 ชั่วโมง



แม้ผลการวิจัยนี้พบว่าพฤติกรรมอยู่นิ่งๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับความดันโลหิต แต่การดูทีวีและเล่นเกมอยู่หน้าจอโทรทัศน์ดูเหมือนส่งผลกระทบไปถึงความดันโลหิต ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็นคนอ้วนหรือผอม ทั้งยังพบด้วยว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มดูทีวีและเล่นเกมมากที่สุด จะมีความดันโลหิตสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในกลุ่มดูทีวีและเล่นเกมน้อยที่สุด หรือเล่นไม่ถึงวันละครึ่งชั่วโมง"วิธีการแก้ปัญหาก็คือปฏิบัติตามคำแนะนำของสถาบันกุมารแพทย์อเมริกัน ซึ่งกำหนดให้เด็กดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง และต้องให้เด็กลุกขยับแข้งขาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 60 นาที" น.พ.โจอี้ แนะนำผล



วิจัยชี้ด้วยว่า การนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์นานๆ จะมาควบคู่กับนิสัยชอบทานอาหารไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเครียด ส่งผลให้นอนหลับไม่สนิท และการนอนน้อยจะนำไปสู่อาการความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน การค้นพบของน.พ.โจอี้สอดคล้องกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้หลายชิ้นที่ระบุว่า การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน และความอ้วนก็เกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงความดันโลหิตสูง

- ดาวหาง -


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในนครซีแอตเทิล สหรัฐ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองการพุ่งชนโลกของดาวหาง พบว่าดาวหางไม่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกเมื่อหลายสิบล้านปีก่อน


นักวิจัยสร้างแบบจำลองวิถีการโคจรของดาวหาง เพื่อสำรวจว่าเกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกกี่ครั้งที่มีสาเหตุมาจากดาวหางพุ่งชน เพราะก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ และคงจะมีอีกหลายครั้งก่อนหน้านี้ ซึ่งทำลายสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่จากแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยนาธาน เคบ และโทมัส ควินน์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่าในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา น่าจะมีดาวหางเพียง 2-3 ดวงเท่านั้นที่พุ่งชนโลก


นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ดาวหางที่ถูกดูดเข้ามาในระบบสุริยจักรวาลมาจากพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลซึ่งเป็นที่รวมของเศษซากที่หลงเหลือจากการก่อรูปของระบบสุริยจักรวาลเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว ที่บริเวณนั้นคือต้นกำเนิดของดาวหางที่ผ่านเข้าใกล้โลก แต่วงโคจรของดาวหางดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงดึงดูดเมื่อเข้าใกล้ดาวฤกษ์ สิ่งนี้อาจกระตุ้นให้ดาวหางถูกดูดเข้ามาในระบบสุริยจักรวาล ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ และเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ฝนดาวตก


อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้จากแบบจำลอง พบว่าแม้จะมีดาวหางมากมายถูกดึงดูดเข้ามาในระบบสุริยจักรวาล แต่ดาวพฤหัสและดาวเสาร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ช่วยป้องกันโลกไว้ และมีดาวหางเพียง 2-3 ลูกที่พุ่งชนโลกในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา


โลกได้รับความเสียหายล่าสุดจากการพุ่งชนของดาวหาง เมื่อประมาณ 40 ล้านปีแล้ว แต่ในครั้งนั้นทำให้เกิดการสูญพันธุ์ขนาดย่อมของสิ่งมีชีวิต ดาวหางที่พุ่งชนเป็นส่วนหนึ่งของพายุฝนดาวตกที่มีจำนวนมากที่สุด ส่วนครั้งอื่นมีจำนวนน้อยลงและความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก

+ คลายเครียด +



แห้ว - อาหารเสริมของคนอกหัก
ระกำ - อาหารหลักสำหรับคนช้ำใจ
น้ำตา - สุขหรือเศร้าก็มีเขาเป็นเพื่อนแท้
เรื่องใหญ่ - เรื่องของ KU
เ สื อ ก - ความหวังดีที่ผิดกาลเทศะ ไม่มีใครต้องการ
สอด - เป็นชื่อปลาที่น่ารัก ถ้าเป็นกริยาจะน่าถีบ
วิสามัญ - กรณีที่ตำรวจทำปืนลั่นใส่คนร้าย
ดอกเบี้ย - ดอกไม้ที่ไม่เคยโรยรา
ทอง - สูงค่า แต่จะต่ำมากถ้านำหน้าด้วย “ดอก”
ปาก - บ้างมีไว้พูด บ้างมีไว้ถากถาง
ตีน - ไว้ใส่ปากคนที่ชอบถากถาง
กระเทย - เธอทำได้เช่นหญิงทุกอย่าง ยกเว้นออกลูก
ป่า - มีน้อยลงทุกวัน แต่ป่าเดียวกันเริ่มมีมากขึ้น
แ ร ด - ในป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ ในเมืองกลับเกลื่อน
เ หี้ ย - วิ่งพล่านยามมีคนโกรธ
งู - สัตว์ชนิดหนึ่งพ่อเฒ่านิยมเลี้ยงไว้บนศีรษะ
ตีนกา - ตีนสัตว์ที่คุณหญิงไม่ปรารถนา
ตำราเรียน - สิ่งที่ใช้หนุนหัวแทนหมอนยามใกล้สอบ
ปริญญา - สิ่งที่สังคมไทยใช้วัดค่าของคน
โทรฯมือถือ -เครื่องประดับที่วัยรุ่นมีไว้โชว์ว่าข้ารวย $$
ขยะ - แยกประเภทแล้ว Recycle กลับมาใช้ใหม่ได้
ขยะสังคม - ไม่ควร Recycle กลับมาใช้ใหม่
ตอแหล - อาการของคนฉ้อฉลที่บอกว่าตนโปร่งใส
เช้าชาม เย็นชาม - วิธีประหยัดงบประมาณของภาครัฐ
ม๊อบ - กลุ่มคนที่งานการไม่ทำชอบทำการปิดยึดถนน
อภิปรายไม่ไว้วางใจ - การแสดงโต้วาทีระดับชาติ
ปาหี่ - การแสดงชนิดหนึ่ง ปัจจุบันหาชมได้ที่รัฐสภา
สาดโคลน - การละเล่นชนิดหนึ่งของนักการเมืองไทย
หน้าด้าน - อาการดื้อชนิดหนึ่งที่ประชาชนไล่แล้วไม่ยอมไป
ธรรมะ - ถ้าตามด้วย “ชโย” ไม่ต้องพูดกัน
ชีวิต - เป็นอะไรที่เลือกได้บ้างไม่ได้บ้าง
ความสุข - เป็นช่วงเวลาที่มักจะผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน
อก - ในวัยรุ่นมักจะเปราะบางหักบ่อยๆ
รัก - ไข้ใจชนิดหนึ่ง มีอาการหลากหลาย


วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

* สุดยอด 7 ความเข้าใจผิดทางการแพทย์ *

คนเรามักมีความเชื่อที่ถูกสอนกันมาเกี่ยวกับสุขภาพซึ่งบางครั้งเป็นความเชื่อที่ผิดๆ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่า 7 สุดยอดความเชื่อที่ผิดทางการแพทย์มีอะไรบ้างจากวารสารวิชาการ British Medical Journal และ American Journal of Psychology ซึ่งมีผู้วิจัยคือ ผศ.ดร Aaron Carroll หมอทันตกรรมเด็กจากสถาบัน Regenstrief ที่ Indianapolis และ Rachel Vreeman นักวิจัยใน children’s health services research ที่ Indiana University School of Medicine ได้จัดอันดับความเชื่อที่ผิดทางการแพทย์ออกมาดังนี้

อันดับ 1 อ่านหนังสือในที่มืดทำให้สายตาเสีย ผู้เชี่ยวชาญทางสายตากล่าวว่า การอ่านหนังสื่อในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอจะไม่ทำให้สายตาเสียแต่จะทำให้คุณต้องหรี่ตาลง กระพริบตาเพิ่มขึ้น และมีปัญหาในการหาจุดโฟกัส

อันดับ 2 การโกนขนไม่ทำให้ขนงอกเร็วขึ้นหรือแข็งกระด้างขึ้น การโกนขึ้นไม่มีผลต่อความแข็ง หนา ของเส้นขนและไม่ทำให้อัตราการงอกของขนเพิ่มเร็วขึ้น แต่ขนที่พึ่งงอกมันยังขาดสารเคลือบ ทำให้เรารู้สึกไปว่ามันแข็งและหยาบขึ้น

อันดับ 3 ทานไก่งวงแลัวจะง่วงนอน (อันนี้เหมือนบ้านเราที่ทานข้าวเหนียวแล้วง่วงรึเปล่านะ) กรดอะมิโนตัวการที่สำคัญที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนคือ ทริปโตเฟน (Tryptophan) แต่ไก่งวงไม่ได้มีกรดอะมิโนตัวนี้มากไปกว่าไก่หรือเนื้อวัว ซึ่งตัวการที่สำคัญที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนก็คือการดื่มและทานอาหารมากไปในวันคริสต์มาส

อันดับ 4 เราใช้ 10% ของสมองในการทำงาน ความเชื่อนี้เกิดขึ้นในปี 1907 แต่ปัจจุบันการแสกนสมองเผยให้เห็นว่าไม่มีส่วนไหนในสมองที่มีการหลับหรือไม่ทำงานเลย

อันดับ 5 เล็บและผมสามารถยาวได้หลังจากตายไปแล้ว เรื่องนี้ได้ความคิดมาจากนิยาย ghoulish ซึ่งนักวิจัยระบุว่าหลังจากตายไปแล้ว ผิวจะแห้งและหดกลับ ทำให้มองดูเหมือนผมและเล็บจะยาวขึ้น

อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือเป็นอันตรายในโรงพยาบาล ความเชื่อนี้แพร่หลายมาก แต่จากการวิจัยพบว่าโทรศัพท์มือถือรบกวนอุปกรณ์ทางการแพทย์น้อยมาก

อันดับ 7 การดื่มน้ำวันละ 8 แก้วทำให้สุขภาพดี ไม่มีผลการวิจัยไหนที่ระบุหรือสนับสนุนความคิดนี้เลย