วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

+ GAT PAT +

GAT PAT คืออะไร จะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553




วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

.+ Salzburg +.



ซาลซ์บูร์ก เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่ 4 ในประเทศออสเตรีย และเป็นเมืองหลวงของรัฐซาลท์ซบูร์ก เมืองเก่าของซาลทซ์บูกร์กและสถาปัตยกรรมบาโรกเป็นหนึ่งในใจกลางเมืองที่ถูกดูแลรักษาอย่างดีที่สุดในกลุ่มประเทศที่พูดภาษาเยอรมันด้วยกัน และถูกยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2540 ซาลซ์บูร์กเป็นที่จดจำกันในฐานะที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ ซาลซ์บูร์กเป็นบ้านเกิดของโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท และเป็นฉากของภาพยนตร์เพลง มนต์รักเพลงสวรรค์ (The Sound of Music)

" คริลล์ " ( Krill )



เรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเมื่อทราบว่าปลาวาฬสีน้ำเงิน ซึ่ง เป็นสัตว์ที่มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุดในโลก มีลำตัวยาวถึง 30 เมตร และมี น้ำหนักมากกว่า 200 ตัน กินอาหารพวกกุ้งทะเลที่มีลำตัวยาวเพียง 6 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียงประมาณ 1 กรัม ปลาวาฬจะต้องกินกุ้งทะเล เป็นปริมาณสูงถึง 3 ตันต่อการกินหนึ่งครั้ง จึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีวิต

กุ้งคริลล์ (Krill) มาจากชื่อว่า Krill ในภาษานอร์เวย์ แปลว่า ปลาเล็ก เป็นสัตว์ทะเลจำพวกกุ้งขนาดเล็ก จัดอยู่ในอันดับ Euphausiacea ในวงศ์ Euphausiidae มีจำนวนมากถึง 85 ชนิด ลำตัวยาวตั้งแต่ 0.5-6 เซนติเมตร ลำตัวมีเปลือกแข็งหุ้มส่วนอกและมีตาเป็นก้านยาวเช่นเดียวกับกุ้ง ทั่วไป แต่รยางค์บนส่วนอกปล้องแรกไม่ดัดแปลงไปเป็นรยางค์ปาก และบางส่วนของรยางค์ที่ส่วนอกเปลี่ยนรูปไปเป็นเหงือกช่วยหายใจ ซึ่งยื่นออกไปนอกเปลือกคลุมตัว ส่วนใหญ่มีอวัยวะเรืองแสง มักอยู่ที่ ตำแหน่งตาที่โคนของรยางค์และใต้ส่วนห้อง เชื่อว่าใช้ในการติดต่อกัน ในฝูงและใช้ในเวลาสืบพันธุ์

กุ้งคริลล์ชนิดที่สำคัญและมีชุกชุมที่สุด คือ คริลล์แอนตาร์กติก (Ant arctic krill หรือ Whale krill) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Euphausia superba คริลล์มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อการคงอยู่ของระบบนิเวศของบริเวณ ขั้วโลกใต้และต่ออุตสาหกรรมการประมง ระบบนิเวศในแถบทวีปแอนตาร์ก ติก มีกุ้งคริลล์เป็นตัวหลักหรือเป็นศูนย์กลางของระบบ ในระบบสายใย อาหาร (food web) กุ้งคริลล์กินแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ใน ขณะที่ตัวเองเป็นอาหารหลักของสัตว์เกือบทุกกลุ่มในบริเวณตั้งแต่ปลา ปลาหมึก นกทะเล และแมวน้ำ รวมทั้งปลาวาฬขนาดใหญ่หลายชนิด หาก มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อการดำรงชีวิตของกุ้งคริลล์แล้ว ย่อมส่งผลกระทบ ต่อสัตว์ทุกชนิดที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร (food chain) อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได
ในด้านการประมง มนุษย์ได้เริ่มจับกุ้งคริลล์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2503 ปริมาณการจับได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีปริมาณสูงสุดถึง 500,000 ตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2523-2524 เรือประมงของหลายประเทศที่ทำการจับกุ้ง- คริลล์ ได้แก่ โซเวียต ญี่ปุ่น ชิลี โปแลนด์ และเกาหลีใต้ ปริมาณของ กุ้งคริลล์จึงได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 จึงมีการ จำกัดปริมาณการประมงกุ้งคริลล์ขึ้นเป็นครั้งแรก อุตสาหกรรมแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากกุ้งคริลล์ ส่วนใหญ่ทำกันในประเทศโซเวียต โปแลนด์ และ เยอรมนี

ในธรรมชาติกุ้งคริลล์อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแน่นในบริเวณ ตอนบนๆ ของผิวน้ำทะเล ในมหาสมุทรรอบๆ ทวีปแอนตาร์กติก ในฤดูร้อน ของทุกปีการแผ่กระจายของฝูงกุ้งคริลล์กินเนื้อที่กว้างนับล้านตารางกิโลเมตร ถึงขนาดทำให้น้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวมีสีออกน้ำตาลแดง ปริมาณของกุ้งคริลล์อาจสูงถึง 1,000 ล้านตัว กุ้งคริลล์กินแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ขนาดเล็กมาก โดยการกรองด้วยขา 6 คู่แรก บนส่วนอกที่ทำหน้าที่ คล้ายเป็นตะแกรงสำหรับกรองอาหาร

ตามปกติกุ้งคริลล์มีอายุในธรรมชาติได้นาน 5 ปี และบางตัวอาจ มีอายุยืนถึง 9 ปี ในที่เลี้ยงพบว่ากุ้งคริลล์มีชีวิตอยู่ได้นาน 200 วัน โดย ไม่ต้องกินอาหารเลย โดยจะลอกคราบถี่มาก หลังการลอกคราบแต่ละครั้ง ขนาดลำตัวจะหดเล็กลงไปเรื่อยๆ จนอวัยวะที่แสดงเพศหลุดหายไปดู คล้ายตัวอ่อน ดังนั้นตัวที่ดูเหมือนตัวอ่อนในต้นฤดูร้อนนี้ อาจจะเป็น ตัวเต็มวัยในฤดูร้อนปีก่อนก็ได้ การศึกษาในระยะหลังนี้ยังพบอีกว่า กุ้งคริลล์สามารถไข่ได้ทุกๆ 7 วันในฤดูร้อน แต่ปริมาณของไข่มีจำนวน ไม่มากนัก ไข่ที่ผสมแล้วจะติดอยู่ที่ใต้ท้องของตัวเมีย ไข่เมื่อฟักออกมา ตัวอ่อนระยะแรกเป็นตัวอ่อนแบบนอเพลียส (nauplius) ซึ่งลำตัวเป็น รูปไข่ มีรยางค์ 3 คู่ ใช้เคลื่อนที่ไปอย่างอิสระ

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

*- Jour de l'an -*


Le Jour de l'an est le premier jour de l'année d'un calendrier donné. Par extension le terme désigne aussi les célébrations de ce premier jour.
Pour les calendriers solaires (comme le
calendrier grégorien), la date du Jour de l'an est fixe d'une année sur l'autre, alors qu'elle est dite mobile dans le cas des calendriers luni-solaire (comme le calendrier chinois).