วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

... มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ...

รูปจากทางอากาศของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ตอนกลางคืน


มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้นๆว่าเซนต์ปีเตอร์บาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) มหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารหนึ่งในสี่ของมหาวิหารหลักในกรุงโรม, ประเทศอิตาลี (อีกสามมหาวิหารคือ: มหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รัน, มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร (Santa Maria Maggiore) และ มหาวิหารเซ็นต์พอลนอกกำแพง (St. Paul outside the Walls)


ประวัติ
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดใน
นครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์สูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม วัดนี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งของคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิก ที่ตั้งวัดเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของ นักบุญปีเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์ของพระเยซู นักบุญปีเตอร์เดิมเป็นบาทหลวงองค์แรกของอันติโอก (Antioch) ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรม เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญปีเตอร์ถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่วัดนี้ ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อปีวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนวัดแบบคอนแสตนทีน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626 แต่เดิมนั้นมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์มิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเตอร์รัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่างๆที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีบัลลังก์บิชอปปีเตอร์ (Cathedra Petri) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญปีเตอร์เองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอึกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจานลอเรนโซ เบร์นินี




มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่า
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ จากภาพเขียนโดยวิเวียโน โคดาซซี (Viviano Codazzi) เมื่อ ค.ศ. 1630 หอสองหอที่เห็นในภาพถูกรี้อภายหลัง
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าเป็นวัดศตวรรษที่ 4 ซึ่งมีรูปทรงแบบบาซิลิคา พอมาถึง
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากเพราะพระสันตะปาปาย้ายที่พำนักไปอยู่ที่เมืองอาวินยอง (Avignon) ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1309 ถึงปี ค.ศ. 1377 การตัดสินใจสร้างมหาวิหารใหม่ก็เพื่อจะได้สร้างมหาวิหารที่ใหม่กว่าและใหญ่กว่าเดิมมากได้สะดวก การใช้ชื่อมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าก็ใช้มาตั้งแต่เมื่อสร้างมหาวิหารปัจจุบัน เพี่อเป็นการแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างปัจจุบันและสิ่งก่อสร้างเดิม


ที่ฝังพระศพของนักบุญปีเตอร์
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ระหว่างการออกอากาศทางวิทยุ
สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12ประกาศว่าได้มีการค้นพบที่ฝังพระศพของนักบุญปีเตอร์หลังจากที่นักโบราณคดีใช้เวลา 10 ปีศึกษาขุดค้นห้องใต้ดิน (crypt) ภายในมหาวิหาร



ที่ฝังศพอื่นๆ
ภายในมหาวิหารมีที่ฝังศพกว่าร้อยที่ บางที่อยู่ภายในถ้ำวาติกัน (Vatican grotto) ซึ่งอยู่ภายใต้มหาวิหาร ภายในถ้ำมีพระสันตะปาปาฝังไว้ 91 องค์ บุคคลสำคัญๆที่ฝังภายในมหาวิหารก็มี
นักบุญอิกเนเชียสแห่งอันติโอก (St. Ignatius of Antioch)
พระเจ้าอ็อตโตที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
จิโอวานี เพียลุยจี แห่ง พาเลสทรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina) -
คีตกวี
เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต (James Francis Edward Stuart) และโอรสอีกสององค์ ผู้หนีภัยจากอังกฤษ
ชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด สจวต (Charles Edward Stuart) - โอรสของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด
เฮนรี เบเนดิกต์ สจวต (Henry Benedict Stuart) - โอรสของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด
พระราชินีคริสตีนาแห่ง
ประเทศสวีเดน (Christina of Sweden) ผู้สละราชสมบัติเพื่อเปลี่ยนมานับถือนิกายคาธอลิก



หินอ่อนจากโคลอสเซียม
เมื่อ
สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 เริ่มสร้างมหาวิหาร พระองค์สั่งซื้อหิน 2,522 เล่มเกวียนจาก โคลอสเซียมที่อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เงินที่ซื้อหินเอามาจากสมบัติที่ขนมาจากเยรูซาเลมเมื่อเยรูซาเลมเสียเมือง และจากการทำลายวัดโดยนายพลของจักรพรรดิเวสปาเชียน (Vespasian) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นจักรพรรดิไททัส (Titus) เมื่อ ค.ศ. 70





ไม่มีความคิดเห็น: