ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ หรือ สนามบินสุวรรณภูมิ (ชื่อเดิม: สนามบินหนองงูเห่า) เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ ถนนบางนา-ตราด ในตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เปิดใช้งานวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยใช้งานแทนท่าอากาศยานดอนเมือง นโยบายรัฐบาลได้กำหนดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และจะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
จากข้อมูลการจัดอันดับล่าสุดของเว็บไซต์ "สมาร์ตทราเวลดอตคอม" ที่มีการสำรวจความเห็นของผู้เดินทางทั่วโลกเปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทยนั้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานยอดเยี่ยมอันดับที่ 4 ของโลก รองจากท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี และท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย
จากข้อมูลการจัดอันดับล่าสุดของเว็บไซต์ "สมาร์ตทราเวลดอตคอม" ที่มีการสำรวจความเห็นของผู้เดินทางทั่วโลกเปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทยนั้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานยอดเยี่ยมอันดับที่ 4 ของโลก รองจากท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี และท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย
ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการถ่ายตัวสะกดภาษาสันสกฤต ว่า "Suvarnabhumi" แทนการเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะกดว่า "Suwannaphum"
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการถ่ายตัวสะกดภาษาสันสกฤต ว่า "Suvarnabhumi" แทนการเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะกดว่า "Suwannaphum"
การก่อสร้าง
แบบแปลนโครงสร้างของท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์นชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์นสำนักงานใหญ่ที่ชิคาโก ซึ่งแบบอาคารสนามบินได้ถูกปรับเปลี่ยน ขนาดอาคาร และวัสดุจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย
แบบแปลนโครงสร้างของท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์นชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์นสำนักงานใหญ่ที่ชิคาโก ซึ่งแบบอาคารสนามบินได้ถูกปรับเปลี่ยน ขนาดอาคาร และวัสดุจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น